อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
 
ข้อมูลพื้นฐาน


สภาพทั่วไป
ที่ตั้ง
ตำบลบ่อแสนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอทับปุด  ห่างจากที่ว่าการอำเภอทับปุดประมาณ 9  กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 44 ตารางกิโลเมตรหรือ 27,500 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทับปุดและตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลมะรุ่ยและตำบลทับปุด จังหวัดพังงา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,878 ครัวเรือน จำนวนประชาชกรทั้งหมด 7,124 คน แยกเป็นประชากรชาย 3,545 คน หญิง 3,579 คน ที่มา: สำนักทะเบียนอำเภอทับปุด กรมการปกครอง ณ วันที่ 30 มกราคม 2558
เขตการปกครองตำบลบ่อแสน  แบ่งออกเป็น  8  หมู่บ้าน  คือ
- หมู่ที่ 1 บ้านนา
- หมู่ที่ 2 บ้านไสเสียด
- หมู่ที่ 3 บ้านคลองบ่อแสน
- หมู่ที่ 4 บ้านควน
- หมู่ที่ 5 บ้านใหญ่
- หมู่ที่ 6 บ้านบางทราย, บ้านบนทุ่ง
- หมู่ที่ 7 บ้านท่าไทร
- หมู่ที่ 8 บ้านท่าใหญ่
ประวัติความเป็นมาของตำบลบ่อแสน
ตำบลบ่อแสนตั้งมาประมาณ 200 ปี ประชาชนที่มาอาศัยอยู่ในตำบลย้ายมาจากจังหวัดตรัง และเมืองไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล รอบ ๆ บ่อน้ำแห่งหนึ่งซึ่งมีคนไปใช้น้ำหลายแสนคนใช้ได้ตลอดปี ภายหลังเรียกชื่อว่า “บ่อแสน”
วิสัยทัศน์

"การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การศึกษาก้าวหน้า เพิ่มคุณภาพชีวิตประชา พัฒนาเกษตรบ่อแสน"

พันธกิจ

1. จัดให้มีการบริการสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐาน
2. พัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
3. สร้างภูมิคุ้มกันในสังคมและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. สร้างสมดุลการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยิ่งขึ้น
5. สร้างชุมชนให้เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้
6. บริหารตามหลักธรรมาภิบาลและทันสมัย
7. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น

จุดมุ่งหมาย

1. การบริการสาธารณะและคมนาคม มีความสะดวก ปลอดภัย รวดเร็ว
2. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี
3. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ประชาชนได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและการส่งเสริมพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ส่งเสริมการประกอบอาชัพหลักของประชาชนและอาชีพเสริม เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ที่แน่นอน
6. ขีดความสามารถในการปฏิบัติงานและการบริการประชาชนของเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น
7. ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นทั้งด้านเมืองและการบริหาร